งานก่อสร้างนับว่าเป็นประเภทกิจการที่มีอัตราการประสบอันตรายสูงอย่างต่อเนื่อง อาจเนื่องจากลักษณะเฉพาะของกิจการประเภทนี้ คือ เป็นการปฏิบัติในที่โล่งแจ้ง ต้องสัมผัสความร้อนและฝุ่นละอองได้ง่าย และต้องมีการเร่งงานเพื่อให้ทันสัญญาจ้าง มีการใช้งานคนงานไร้ฝีมือเป็นจำนวนมาก มีการเข้า-ออกของคนงานสูง ประกอบกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง รวมทั้งการอบรมให้ความรู้แก่คนงานในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานยังไม่ทั่วถึง จึงทำให้งานก่อสร้างเป็นสภาพงานที่เอื้อให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้าง ได้แก่ เกิดจากการปฏิบัติงานของคนงานก่อสร้าง การแต่งกายไม่รัดกุม สวมใส่รองเท้าแตะ ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่สวมใส่เข็มขัดนิรภัยขณะทำงานที่สูง หรือมีการหยอกล้อกันในขณะปฏิบัติงาน อุบัติเหตุที่เกิดในงานก่อสร้างลักษณะของอุบัติเหตุจะมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของงานก่อสร้าง เช่น งานก่อสร้างถนน ลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุมักจะเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักร งานก่อสร้างอาคารสูง การทำงานในที่สูง ลักษณะของอุบัติเหตุ มักเกิดจากการพลักตกจากที่สูง เช่น ตกจากนั่งร้าน ,บันได หรือวัตถุหล่นใส่
การทำงานโครงสร้างชั่วคราวลักษณะของอุบัติเหตุมักเกิดจากการพังทลายของโครงสร้างชั่วคราว เช่น นั่งร้าน กำแพงกันดิน เป็นต้นการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ ลักษณะของอุบัติเหตุ จะเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลล้มหรือพังทลายการใช้เครื่องมือและเครื่องกล ลักษณะของอุบัติเหตุ จะเกิดจากเครื่องมือที่ชำรุดหรือใช้งานไม่ถูกวิธีการใช้ไฟฟ้าชั่วคราว อุบัติเหตุมักเกิดจากการถูกไฟฟ้าช็อต สายไฟชำรุด ไม่มีการระบบการตัดวงจรไฟฟ้าการขนส่งและลำเลียงวัสดุและอุปกรณ์ อุบัติเหตุเกิดจากการเคลื่อนย้ายวัสดุ เช่น อิฐ หิน ไม้ ตกลงมาจากที่สูง การเก็บและวางสิ่งของ ลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุ คือการสะดุดล้ม เหยียบตะปู เป็นต้นการดูแลรักษาความสะอาด ลักษณะอุบัติเหตุมักเกิดจากคราบน้ำมัน,น้ำขัง ทำให้ลื่นล้มการทำงานในที่อับอากาศ เกิดจากการขาดอากาศหรือมีแก๊สพิษ เกิดการระเบิด เป็นต้น อุบัติเหตุที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน คนงานก่อสร้างต้องพบกับสภาพเแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เสียงดัง แสงจ้าหรือแสงน้อยจนเกินไป ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ควัน กลิ่น เสียงที่ดังมากเกินไป